ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์   เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา    สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน   เปิดสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย ความจุนักเรียนสูงสุด    4,655  คน  มีเนื้อที่   35   ไร่  1  งาน  87   ตารางวา  ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช  2489
(คริสตศักราช 1946) โดยพระสังฆราช เรอแน แปร์โรสได้ยื่นคำร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่  10 มีนาคม  2489 อาคารเรียนหลังแรกได้ก่อตั้ง ณ เรือนไม้ 2 ชั้น บริเวณวัดคาทอลิก  ริมคลองพระพิมลราชา  ตำบลโสนลอย  อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี  ได้รับใบอนุญาตให้เปิดทำการสอนได้  ตามใบอนุญาต เลขที่ 20 / 2489 ลงวันที่  22 เมษายน  พ.ศ.  2489  โดยมี

พระสังฆราช เรอแน   แปร์โรส  เป็นเจ้าของ

นายจรูญ                              พันธุมจินดา        เป็นผู้จัดการ

นางสาวสุนิตย์                       โรจนรัตน์           เป็นครูใหญ่

โรงเรียนได้รับใบอนุญาตให้เปิดทำการสอนวิชาสามัญ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่  4
รับนักเรียนชาย หญิง เป็นแบบสหศึกษา รับนักเรียนได้ทั้งสิ้น  272  คน หลังจากนั้นโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนตามลำดับ

          พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951)   ตามใบอนุญาตเลขที่ 10/2494  ลงวันที่  14  พฤศจิกายน พ.ศ.  2494
ได้อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรจากเดิมที่ว่าหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ   เป็นสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (หลักสูตรเทียบ) โดยขอสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาเลือก

          พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)   ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนเพิ่ม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7  โดยขยายปีละชั้นและรับนักเรียนชาย หญิง  อายุอย่างต่ำ  4  ปี อย่างสูง  17  ปี   โดยมี

บาทหลวง  กิมอั้ง       แซ่เล้า               เจ้าของจัดตั้งโรงเรียน

นายสละ                  บุญคั้นผล           ผู้จัดการ

นางสาวบุญเติม         จิระพันธ์ ครูใหญ่

          พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)  ได้ขอรับนักเรียนอายุอย่างต่ำ  5  ปี   และได้ขอเปลี่ยนเครื่องแต่งกายนักเรียนชาย – หญิง เป็นสีน้ำเงิน – ขาว    ใช้ไหมสีแดงปักอักษรย่อโรงเรียน เป็น “ พ.ม.”

          พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)  เพิ่มอาคารเรียน 2 หลัง และขออนุญาตรับนักเรียนเพิ่ม ตามใบอนุญาตเลขที่  66 / 2512   เพื่อให้กิจการแพร่ธรรมและโรงเรียนดำเนินต่อไปด้วยดี    คุณพ่อโรเชอโร   เจ้าอาวาส
วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ได้ขอภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรมาประจำ เพื่อทำการแพร่ธรรมของวัด
ในเขตบางบัวทอง เช่น  การสอนคำสอนในโรงเรียน  และเยี่ยมเยียนสัตบุรุษ วันที่  1  พฤษภาคม  พ.ศ. 2513
(ค.ศ. 1970)   เซอร์ เอดัวร์   กิ่งกาญจน์  และเซอร์สแตลลา นิลเขต  ได้เดินทางมาประจำอยู่ที่
วัดพระแม่สกลสงเคราะห์  เริ่มงานด้วยการสอนคำสอนนักเรียนในโรงเรียนและเยี่ยมเยียนสัตบุรุษ
ตามความประสงค์ของคุณพ่อเจ้าอาวาส ในปีนี้มีนักเรียนระดับประถมจำนวน  258  คน  ครูจำนวน  11  คน

พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)  คุณพ่ออดุลย์  คูรัตน์  ได้ย้ายมาประจำแทนคุณพ่อโรเชอโร  คุณพ่อได้ขอให้เซอร์เข้ามาช่วยบริหารโรงเรียน  ดูแลกิจการร่วมกับครูใหญ่ที่เป็นฆราวาส  ในปีนี้มีนักเรียนระดับประถม  จำนวน  254  คน  ครู จำนวน 12  คน  โดยมี

บาทหลวงอดุลย์   คูรัตน์   เจ้าของจัดตั้งโรงเรียน / ผู้จัดการ

นางลัดดา           วงศ์บุญนาค       ครูใหญ่

พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)     คุณพ่อได้ติดต่ออธิการิณีเจ้าคณะของเซอร์เซนต์ปอล  เดอ ชาร์ตร  เพื่อขอเซอร์มาทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ – ครูใหญ่  ในปีนี้เอง เซอร์ดอมีนิก   กิจเจริญ    ได้รับหน้าที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนพร้อมกับเซอร์ผู้ช่วยอีกสองท่าน   หลังจากนั้น คณะภคินีเซนต์ปอล  เดอ ชาร์ตร  ก็ได้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนมาโดยลำดับซึ่งทุกเช้าก่อนเข้าเรียนจะมีการอบรมจริยศึกษาทุกชั้นสำหรับนักเรียนทั่วไป           นักเรียนคาทอลิกมีการเรียนคำสอนและกิจกรรมหลายอย่าง  เช่น พลศีล  พลมารี  และกองหน้าร่าเริง  คุณพ่อและคณะเซอร์จะแบ่งกลุ่มสอนคำสอนและอบรมด้านพิธีกรรมเป็นประจำ  ในปีนี้มีนักเรียนระดับประถม จำนวน  293  คน    ครู จำนวน 19 คน

บาทหลวงอดุลย์   คูรัตน์   เจ้าของจัดตั้งโรงเรียน

นางสาวบังอร      กิจเจริญ             ผู้จัดการ – ครูใหญ่

พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974)   ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  บาทหลวงวิจิตร   ลิขิตธรรม  ขออนุญาตขยายชั้นเรียนอนุบาลปีที่ 1  และชั้นอนุบาลปีที่ 2  ตามหนังสือเลขที่  11 / 2517
ลงวันที่  8  ตุลาคม  พ.ศ. 2517  และได้รับอนุญาตตามใบอนุญาตเลขที่  822 / 2517  ลงวันที่
21 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2517  และ ได้ขอเปลี่ยนแปลงอายุนักเรียนสำหรับชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 7  จาก 5 ปี ถึง 17 ปี  เป็น 3 ปีครึ่ง  ถึง 17 ปี  ในปีนี้มีนักเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน 326 คน
ครู จำนวน 17 คน

พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)  ได้จัดสร้างสนามบาสเกตบอล  เพื่อให้โรงเรียนได้มีสนามให้เด็กเล่น
มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน  54  คน ระดับประถมศึกษา จำนวน  322  คน รวมทั้งหมด  376 คน
ครู จำนวน 17 คน

พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงวิจิตร  ลิขิตธรรม  เป็น  บาทหลวงสานิจ   สถะวีระวงศ์  และเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ – ครูใหญ่ จาก นางสาวบังอร  กิจเจริญ  เป็น   นางสาวสุณี   สกุลทอง   สร้างศาลาริมน้ำเพื่อให้เด็กๆ ได้มีที่พัก และมีทางลง – ขึ้นเรือได้สะดวก  ในปีนี้มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน  61 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน 330 คน  รวมทั้งหมด 391 คน
ครู จำนวน 16 คน

พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)  ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงสานิจ สถะวีระวงศ์  เป็น บาทหลวงถาวร  กิจสกุล  และเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และ ครูใหญ่     จากนางสาวสุณี    สกุลทอง   เป็น นางสาวบังอร   กิจเจริญ   ในวันที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2523  ได้ขอขยายห้องเรียนอีก 2 ห้อง  อาคารสองชั้นเดิม 4 ห้อง   เป็น 6 ห้อง  ต่อมาได้ขยายห้องอนุบาล  จากเดิม 2 ห้อง เป็น 3 ห้อง  มีนักเรียนอนุบาล
จำนวน 141 คน      ประถมศึกษาจำนวน 387 คน    รวมทั้งหมด 528 คน    ครูจำนวน  21 คน

พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)  ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจาก บาทหลวงถาวร  กิจสกุล  เป็น บาทหลวงบรรจบ   โสภณ     มีการขยายห้องเรียนเพิ่มอีก 4 ห้อง    ทำการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง 6  มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 139 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน 440 คน
รวมทั้งหมด 579 คน  ครู  จำนวน    24 คน

พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)  ขอขยายเพิ่มห้องเรียนอีก 1 ห้องเรียน ทางโรงเรียนได้กำหนดระเบียบนักเรียนอย่างเคร่งครัดขึ้น  โดยไม่ให้นักเรียนออกไปรับประทานอาหารกลางวันข้างนอกทุกคนต้องอยู่ในโรงเรียนโดยนำอาหารมารับประทานเอง  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 172 คน  ระดับระถมศึกษา จำนวน 443 คน    รวมทั้งหมด 615 คน     ครู จำนวน 25 คน

พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983)  ขอเพิ่มและขยายห้องเรียนจำนวน 1 ห้อง พร้อมกับทางโรงเรียนได้ขอเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบของนักเรียนหญิงเป็นแบบคอนแวนต์  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน  210 คน ประถมศึกษา จำนวน 489 คน รวมทั้งหมด 699 คน ครู จำนวน 27 คน

พ.ศ. 2527 (ค.ศ.1984)  ทางโรงเรียนได้ขออนุญาต  ตามใบอนุญาตเลขที่ 166 / 2527  ต่อเติมอาคารเรียนโดยรื้อจากโรงไม้เป็นโรงอาหาร  และขยายห้องเรียนจากเดิม 20 ห้อง     เป็น  22 ห้องเรียน  เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน  210  คน ระดับประถมศึกษา จำนวน  594  คน รวมทั้งหมด 804 คน  ครู จำนวน 30 คน

พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)  ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาต  จาก   บาทหลวงบรรจบ   โสภณ  เป็นบาทหลวงไพรินทร์   เกิดสมุทร   และเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ – ครูใหญ่    จากนางสาวบังอร   กิจเจริญ  เป็น นางสาวทองล้วน   รัตนสุต  มีการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องแบบโดยรับหนังสือจากที่ว่าการอำเภอบางบัวทอง   ที่ นบ. 0431106     ลงวันที่  30  มีนาคม   2529  พร้อมประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่องเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ จำนวน  4 ชุด  และตามใบอนุญาตเลขที่     178 / 2529  ลงวันที่ 28  พฤศจิกายน  2529  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 242 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน 640 คน  รวมทั้งหมด 882 คน   ครู จำนวน 38 คน

พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงไพรินทร์ เกิดสมุทร  เป็นบาทหลวงสุรสิทธิ์  ชุ่มศรีพันธุ์ และทำหน้าที่เป็นผู้จัดการด้วยเปลี่ยนแปลงครูใหญ่จาก
นางสาวทองล้วน  รัตนสุต  เป็น นางสาววรนุช  ศิริกรกุล  ได้ขออนุญาตขยายห้องเรียน  และเพิ่มจำนวนนักเรียนจากเดิม จำนวน 24 ห้อง เป็น  25  ห้อง  มีนักเรียนระดับอนุบาล  จำนวน 280 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน 722 คน  รวมทั้งหมด 1,002 คน  ครู จำนวน 39 คน

พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)  โรงเรียนเปลี่ยนแปลงการใช้ตราประจำโรงเรียนใหม่  จากเดิมเป็นรูปวงรี เปลี่ยนเป็นรูปวงกลม  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม  2532 จนถึงปัจจุบัน  ทางสำนักมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ โดย ฯพณฯ พระคาร์ดินัล   ไมเกิ้ล  มีชัย    กิจบุญชู   ได้ดำริให้ปรับปรุงอาคารเรียนเรือนไม้เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่มีเพิ่มมากขึ้นและอาคารเรียนหลังเก่าชำรุดมาก  โดยจัดสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ให้ถาวร  และสามารถรองรับกับปริมาณนักเรียนให้เพียงพอ ได้แก่สร้างอาคารเรียน  5 ชั้น  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  มัธยมศึกษา และอาคารเรียน 4 ชั้น  สำหรับนักเรียนระดับอนุบาลมีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 355 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 724 คน    รวมทั้งหมด 1,079 คน ครู จำนวน 42 คน

พ.ศ.2533 (ค.ศ. 1990)  ได้ขอขยายชั้นเรียนตามใบอนุญาตเลขที่ 219 / 2533 ลงวันที่
29 สิงหาคม  2533 ขอขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  โดยเปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ตามลำดับ ขอเปลี่ยนแปลงอายุนักเรียนจากเดิม เป็นรับนักเรียนอายุ 3 ปี  ถึง 18 ปี  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 596 คน  ระดับประถมศึกษาจำนวน 918 คน ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 8 คน รวมทั้งหมด  1,602 คน ครูจำนวน59 คน

พ.ศ. 2534  (ค.ศ.1991)  ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงสุรสิทธิ์
ชุ่มศรีพันธุ์ เป็นบาทหลวงทวีศักดิ์   กิจเจริญและเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ – ครูใหญ่จากนางสาววรนุช  ศิริกรกุล  เป็น นางสาววรรณี  หมั้นทรัพย์  เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2534
ได้ทำพิธีเสกอาคารเรียนประถม  และ มัธยม  โดย พณฯ พระคาร์ดินัล  ไมเกิ้ล  มีชัย   กิจบุญชู  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 582 คน ประถมศึกษา จำนวน 938 คน  มัธยมต้น 214 คน  รวมทั้งหมด  1,734 คน
ครู จำนวน 63 คน

พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992)  เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3   มีการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ขยายห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 594 คน  ประถมศึกษาจำนวน 1.071 คน  มัธยมศึกษาจำนวน 304 คน  รวมทั้งหมด 1,966 คน  ครูจำนวน 67 คน

พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)  เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์  2536 ได้มีพิธีเสก และเปิดอาคารเรียนอนุบาล โดย พณฯ พระคาร์ดินัล  ไมเกิ้ล  มีชัย   กิจบุญชู  และพิธีเปิดสวนสุขภาพ  โดยศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี
มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 598 คน   ประถมศึกษา จำนวน 1,192 คน มัธยมศึกษาจำนวน 323 คน
รวมทั้งหมด 2,113 คน    ครู จำนวน 61 คน

พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)  ได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการ และครูใหญ่จาก  นางสาววรรณี  หมั้นทรัพย์  เป็น นางสาวลมณี   โจหิงค์   มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 600 คน ประถมศึกษา จำนวน 1,205 คน
ชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 296   คน   รวมทั้งหมด จำนวน 2,101   คน

พ.ศ. 2538  ( ค.ศ.1995)    มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 629 คน ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 1,332 คน  ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 290   คนรวมทั้งหมดจำนวน 2,251 คน

พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ได้มีการเปลี่ยนแปลง แทนผู้รับใบอนุญาต  จากบาทหลวงทวีศักดิ์   กิจเจริญ  เป็น บาทหลวงวิชชุกรณ์   เกตุภาพ    มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 675 คน   ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 1,382 คน  ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน303 คน รวมทั้งหมด จำนวน 2,360 คน  ครู จำนวน 99 คน

พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997)  มีนักเรียนชั้นอนุบาล จำนวน 705 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน
1,435 คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 259 คน รวมทั้งหมด 2,399 คน  ครู จำนวน 81 คน

– โรงเรียนได้ยื่นขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  จากกรมสรรพากร   เมื่อวันที่  5  มีนาคม  2540    เลขประจำตัว  4-19-1-00109-9

– โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จากเขตการศึกษา 1

พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)  มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 791 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน 1,528 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 246 คน  รวมทั้งหมด จำนวน 2,565 คน  ครู จำนวน 89 คน

– มีการจัดตั้ง “ สมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ ”  ได้รับอนุญาต ณ  วันที่
31  สิงหาคม   2541

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

– รางวัลพระราชทานประเภทนักเรียน  ระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)  ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจาก บาทหลวงวิชชุกรณ์  เกตุภาพ เป็น บาทหลวงสุเทพ   พงษ์วิรัชไชย  มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 820 คน  ประถมศึกษา จำนวน 1,593 คน  มัธยมศึกษา จำนวน 213 คน  รวมทั้งหมด จำนวน  2,626 คน  ครูจำนวน  89   คน

พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)  ได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการ – ครูใหญ่  จากนางสาวลมณี   โจหิงค์   เป็น  นางสาวกันยา   วงษ์ชื่น  มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 840 คน  ประถมศึกษา   จำนวน 1,738 คน  มัธยมศึกษา จำนวน 196 คน  รวมทั้งหมด จำนวน 2,774 คน  ครูจำนวน 93 คน

พ.ศ. 2544  (ค.ศ. 2001)    มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 840 คน ประถมศึกษา  จำนวน1,796   คน   มัธยมศึกษา จำนวน 169 คน    รวมทั้งหมดจำนวน 2,805 คน  ครู จำนวน 89 คน

พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)   มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 812 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน
1,851 คน  ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 184 คน  รวมทั้งหมด จำนวน 2,847 คน  ครู จำนวน 95 คน

– โรงเรียนขอขึ้นทะเบียนประกันสังคม จากสำนักงานประกันสังคม   กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  พ.ศ.  2545  เป็นต้นไป  เลขที่บัญชี  12-0006962-5 ออกให้  ณ  วันที่  7  สิงหาคม  พ.ศ.  2545

พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)  โรงเรียนขอขยายหลักสูตรจากเดิมเปิดสอนก่อนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นเปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา –  มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในปีการศึกษา 2546  เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4   ปีการศึกษา 2547  เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ปีการศึกษา  2548
เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   ตามใบอนุญาตเลขที่  77/2546   ลงวันที่ 27  มีนาคม พ.ศ. 2546   ทั้งนี้    ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546  เป็นต้นไป

– โรงเรียน ขอเปิดเป็นสถานศึกษาวิชาทหาร   หมายเลขรหัส 011-24-4-036 (อ) จังหวัดนนทบุรี  ลำดับที่ 1.1 ทำการฝึกวิชาทหาร ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-3  ทั้งนี้  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นไป  ประกาศ ณ วันที่  18 มิถุนายน   พ.ศ.  2546    ในปีนี้มีนักเรียนชั้นอนุบาล จำนวน 838 คน ประถมศึกษา จำนวน 1,891 คน  มัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 230 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 26 คน รวมทั้งหมด 2,985 คน ครูจำนวน 88 คน

พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย  เป็นบาทหลวงพจนารถ   นิรมลทินวงศ์  โรงเรียนได้ขอขยายห้องเรียนเพิ่มจากเดิม 63 ห้องเรียน เป็น 67 ห้อง ความจุนักเรียน 3,335 คน  ตามใบอนุญาตเลขที่ 164/2547 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 ตั้งแต่
ปีการศึกษา  2547  เป็นต้นไป  ได้ปรับห้องสมุดเดิมซึ่งอยู่ชั้นล่างของอาคารประถม เป็นห้องเรียนชั้น ม.4 และ ม.5 จำนวน 4 ห้อง ห้องสมุดย้ายไปอยู่ห้องประชุม (ห้องมารีอา) นอกจากนี้ได้ขยายห้องธุรการ – การเงิน ให้มีเนื้อที่มากขึ้น ในปีนี้มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 815 คน ระดับประถมศึกษาจำนวน 1,857 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 275 คน และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 คน รวมทั้งหมด จำนวน 2,996 คน ครู จำนวน 104 คน

พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005)  สำนักมิสซังฯ ได้ขยายรั้วโรงเรียนด้านหน้า และปรับเป็นที่จอดรถเพิ่มขึ้นอีก 2 จุด มีนักเรียนอนุบาล จำนวน 699 คน ประถมศึกษา จำนวน 1,722 คน มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน
273 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 78 คน  รวมทั้งหมด 2,772 คน   ครู จำนวน 117 คน

– โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จาก สมศ.  รอบที่ 1

– รางวัล เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “ระดับ ทอง” และโรงอาหารดีเด่น  ระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เปลี่ยนแปลงผู้จัดการ – ครูใหญ่จากเดิม นางสาวกันยา  วงษ์ชื่น  เป็น   นางสาวบุญเรือน  กิจเจริญ  จำนวนบุคลากรในโรงเรียนครู  120 คน  นักเรียนอนุบาล 607 คน  ระดับประถมศึกษา 1,648 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 268 คน  มัธยมศึกษาตอนปลาย 103   คน รวมนักเรียนทั้งหมด 2,626 คน

พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)  สำนักมิสซังอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  อนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น 1 หลัง  และต่อเติมอาคาร 2 จากเดิม 5 ชั้น เป็น 6 ชั้น โรงเรียนขออนุญาตใช้แบบแปลนก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก  6  ชั้น จำนวน 1  หลังตามรายละเอียดแนบท้ายหนังสือที่ ศธ  0211.4 / 2282  ลงวันที่  16  กรกฎาคม 2550

– โรงเรียนขอยกเลิกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ ตามหนังสือที่ พม.97/2550   วันที่    21   สิงหาคม   พ.ศ. 2550 จำนวนนักเรียนอนุบาล 630 คน  ประถมศึกษา 1,765 คน  มัธยมตอนต้น 392 คน  มัธยมศึกษาตอนปลาย 175 คน  รวมนักเรียนทั้งหมด  2,962 คน    ครู 141 คน

พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)  ขอขยายชั้นเรียน   ระดับชั้นเตรียมอนุบาล 1 ห้อง ตามใบอนุญาตเลขที่
61 / 2551   ลงวันที่  7    กรกฎาคม   พ.ศ.  2551   ตั้งแต่ปีการศึกษา  2551  เป็นต้นไป

– ขออนุญาตใช้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  6  ชั้น   จำนวน  1  หลัง   เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนได้
มีห้องเรียน  จำนวน  24  ห้อง   ห้องประกอบ  จำนวน   13  ห้อง  ความจุนักเรียน  จำนวน  1,320  คน
รวมความจุนักเรียนทั้งโรงเรียน  จำนวน  4,655   คน  ตั้งแต่ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2551  เป็นต้นไป

– ขอเปลี่ยนแปลงระเบียบการโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่  62/2551  ลงวันที่  7  กรกฏาคม 2551  ตั้งแต่ปีการศึกษา  2551  เป็นต้นไป

– ขออนุญาตใช้ตราโรงเรียนใหม่  ตามใบอนุญาตเลขที่  69/2551  ลงวันที่  14 กรกฏาคม 2551 ตั้งแต่ วันที่   1   กรกฏาคม  พ.ศ.  2551   เป็นต้นไป จำนวนนักเรียนเตรียมอนุบาล  32 คน  อนุบาล 737 คน    ประถมศึกษา 1,897 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 583 คน  มัธยมศึกษาตอนปลาย 255 คน รวมนักเรียน 3,501 คน  ครู 153 คน

พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)  เปลี่ยนแปลงผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตจากเดิม บาทหลวงพจนารถ
นิรมลทินวงศ์  เป็น บาทหลวงบุญเสริม  เนื่องพลี ตามใบอนุญาตเลขที่  55 / 2552ลงวันที่  30 กรกฎาคม
พ.ศ.  2552    ตั้งแต่วันที่  1   มิถุนายน   พ.ศ.  2552  เป็นต้นไป จำนวนนักเรียนเตรียมอนุบาล  57 คน   อนุบาล 862 คน ประถม 1,958 คน มัธยมตอนต้น 748 คน มัธยมตอนปลาย 308 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,933 คน ครู 164 คน

พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)  

– ขอมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนอนุญาตให้บาทหลวง
บุญเสริม เนื่องพลี   เป็นผู้ทำการแทนผู้ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ตามใบอนุญาตที่  7 / 2554   ลงวันที่  8  มีนาคม  พ.ศ.  2554   ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553  เป็นต้นไป

– ขออนุญาตใช้ชื่อโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า PRAMAESAKOLSONGKROH SCHOOL ตามใบอนุญาตเลขที่ 55/2553  ลงวันที่  9  กรกฎาคม  พ.ศ. 2553  ตั้งแต่วันที่  9  กรกฎาคม  พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

– ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลของโรงเรียนในระบบ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ สังกัดมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพ ฯ  ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน  พ.ศ. 2550  ให้ถือบังคับใช้ตราสารฉบับนี้   ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม  พ.ศ.  2553 มีจำนวนนักเรียนระดับเตรียมอนุบาล 72  คน  อนุบาล 892  คน  ประถมศึกษา 1,977 คน มัธยมตอนต้น 794 คน มัธยมตอนปลาย 367  คน รวมทั้งหมด 4,102 คน ครู 169 คน

พ.ศ. 2554  (ค.ศ.2011 )

– ขออนุญาตให้  บาทหลวง อดุลย์  คูรัตน์    ผู้ขอโอนกิจการโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์  โอนโรงเรียนให้แก่  มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ  โดยมุขนายก เกรียงศักดิ์   โกวิทวาณิช  เป็นผู้รับใบอนุญาต   ตามหนังสืออนุญาตที่  1 / 2554  ลงวันที่  8  มีนาคม  พ.ศ. 2554   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1  พฤษภาคม  พ.ศ.  2553   เป็นต้นไป   ให้ไว้ ณ  วันที่  8  มีนาคม พ.ศ.  2554   มีจำนวนนักเรียนระดับเตรียมอนุบาล 75 คน อนุบาล  935  คน ประถมศึกษา1,970  คน มัธยมตอนต้น 812  คน มัธยมตอนปลาย  430  คน  รวมทั้งหมด  4,222  คน  ครู  179  คน

พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ผู้รับใบอนุญาตได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนจำนวน 2 ท่าน คือ เซอร์ชองตาล สุเพ็ญ   ตรีว่าอุดม ผู้อำนวยการ – ผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ และเซอร์มารีบลองช์
สุมิตรา   วรสาร  ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ ในเดือนตุลาคม 2555 ได้ทำการปรับสภาพพื้นที่ดินที่เคยมีหญ้าขึ้นสูงเพื่อทำการปลูกข้าว สำหรับพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกคือ ข้าวหอมปทุม 1 และทำการเก็บเกี่ยวได้ 59 เกวียน ด้านรางวัลที่สถานศึกษาได้รับในปีการศึกษา 2555 ได้แก่

– รางวัลชมเชยระดับมัธยมศึกษาประจำปีการศึกษา 2555 ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จากมูลนิธิธารน้ำใจ

– รางวัลชมเชยการประกวดมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ตามโครงการ อย.น้อย  จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี

– ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ระดับดี จากกระทรวงสาธาณสุข

– ผ่านการติดตามประเมินการดำรงรักษาสภาพสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน จากกระทรวงศึกษาธิการ เกียรติบัตรการรับรองโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”

พ.ศ.2556 (ค.ศ.2013)

– ขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง โดยให้แก้ไขข้อความในหมวด 3 ข้อ 6 (2) เปลี่ยนเป็นดังต่อไปนี้ หมวด 3 ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ข้อ 6 (2) ทรัพย์สิน ส่วนที่อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

(ข) อาคารเรียนและอาคารประกอบ จำนวน 3 หลัง ดังนี้

1)  อาคาร ค.ส.ล. 5 ชั้น ห้องเรียนขนาด 8 8 เมตร จำนวน 24 ห้อง รับนักเรียนได้ ห้องเรียนละ
55 คน ห้องประกอบ จำนวน 24 ห้อง

2)  อาคาร ค.ส.ล. 6 ชั้น ห้องเรียนขนาด 8 8 เมตร จำนวน 24 ห้อง รับนักเรียนได้ ห้องเรียนละ
55 คน ห้องประกอบ จำนวน 13 ห้อง

3)  อาคาร ค.ล.ส. 4 ชั้น ห้องเรียนขนาด 8 8 เมตร จำนวน 39 ห้อง รับนักเรียนได้ ห้องเรียนละ
55 คน จำนวน 12 ห้อง (ใช้เป็นห้องเรียนประถมศึกษา จำนวน 12 ห้อง เป็นห้องเรียนระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 27 ห้อง) ห้องประกอบ 7 ห้อง อนึ่ง ความจุนักเรียนสูงสุดคงเดิม จำนวน 4,655 คนตั้งแต่วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวนนักเรียนระดับเตรียมอนุบาล 75 คน อนุบาล 929 คน ประถมศึกษา 1,950 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 772 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 444 คน รวมทั้งหมด 4,170 คน ครู 200 คน

          ผลการจัดการศึกษา

– จากความสามารถในการพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพและรักษาระดับคุณภาพของนักเรียนอยู่เสมอ ทำให้โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลโครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่สร้างคนดีให้สังคมด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมดีเด่นของมูลนิธิธารน้ำใจ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556

– รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทองแดง โรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2555 ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ซึ่งเข้ารับกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2556

– รางวัลเกียรติบัตรโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง ประจำปี 2556 จากกระทรวงสาธารณสุข

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  การประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษา โครงการเผยแพร่ พัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการในภูมิภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557

– การรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 3 (ปีพ.ศ.2554 – 2558) เมื่อวันที่ 20-22 มกราคม 2557

พ.ศ.2557 (ค.ศ.2014)เปลี่ยนแปลงผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตจากเดิมบาทหลวงบุญเสริม เนื่องพลี เป็น บาทหลวงบัณฑิตย์  ประจงกิจ ตามใบอนุญาตเลขที่ ลส. 279 / 2557 ลงวันที่  1   พฤษภาคม พ.ศ.  2557    ตั้งแต่วันที่  6   พฤษภาคม   พ.ศ.  2557  เป็นต้นไป  ในปีการศึกษา 2557 โรงเรียนได้ปรับพื้นสนามกีฬาฟุตบอล เพื่อให้สนามฟุตบอลอยู่ในสภาพที่พร้อมสมบูรณ์ในการใช้ฝึกซ้อม และเตรียมทีมในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนในรายการต่างๆ ปรับปรุงห้องน้ำแผนกอนุบาล ปรับปรุงลานจอดรถบริเวณด้านข้างประตู 1  นอกจากนี้ยังทำการปรับปรุงศาลาการงานให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนและใน
ปีการศึกษา 2557 นี้  เซอร์ชองตาล ตรีว่าอุดม ผู้อำนวยการโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณและยกย่อง เชิดชู ในฐานะของผู้เป็นต้นแบบ “คนดีของแผ่นดิน” ที่อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ความสุจริต ภายใต้แนวคิด “ทำหน้าที่ เต็มกำลัง ตั้งมั่นสุจริต ใช้ชีวิตพอเพียง” ของมูลนิธิธรรมลักษณ์ศิลา มอบโดย พณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558

ผลการจัดการศึกษา

– รางวัลชนะเลิศการประกวดมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ปี 2557 พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2557

– รางวัลระดับ 2 ดาว ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 25,000 บาท จากการไฟฟ้านครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพและสิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) ในฐานะที่เป็นสถานศึกษายอดเยี่ยมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามโครงการ Energy Mind Award 2014 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558

– ได้รับคัดเลือกให้รับทุนสนับสนุนปลูกป่าชายเลนจำนวน  30,000  บาท  ตามโครงการป่าชายเลน พิทักษ์นครหลวง จากการไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557

– รางวัลชนะเลิศการประกวดวงดนตรีสากลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย PRU Music Contest 2015  โครงการเผยแพร่ พัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการในภูมิภาคตะวันออก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

– รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันร้องเพลงลูกทุ่งและDancer  ระดับปฐมวัยโครงการ Junior Contest
ครั้งที่ 1 ปี 2557 กระทรวงวัฒนธรรม

– รางวัลเกียรติบัตร โรงเรียนส่งเสริมการอ่านในโครงการ Nanmeebooks Reading Club ครั้งที่ 14 จากบริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด

พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)  เปลี่ยนแปลงผู้จัดการและผู้อำนวยการจากเดิม เซอร์ชองตาล   ตรีว่าอุดม เป็น เซอร์ลิลี่   นิลเขต ตามเลขที่ พ.ม. 0002/2558 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนได้ปรับปรุงลานจอดรถเป็นลานคอนกรีต สร้างห้องฝึกซ้อมและเก็บ
เครื่องดนตรีดุริยางค์บริเวณด้านข้างลานจอดรถประตู 1 กั้นห้องเก็บอุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์ลูกเสือ อุปกรณ์การเกษตรและอุปกรณ์ศิลปะ ปรับปรุงห้องสหการอาคารเซนต์แมรี่เป็นห้องประชุม ห้องรับรอง สร้างห้องสหการใหม่ข้างห้องพยาบาล ปรับปรุงห้องศิลปะเป็นห้องศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ปรับพื้นด้านหลังอาคารเซนต์แมรี่โดยปูกระเบื้อง ปรับปรุงห้องน้ำบริเวณด้านข้างโรงอาหาร นอกจากนี้ยังติดเครื่องปรับอากาศห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 จำนวน 12 ห้องเรียน และปรับปรุงลานหน้าอาคารเซนต์แมรี่และอาคารเซนต์โยเซฟเป็นสนามกีฬาประเภทต่างๆ เช่น สนามแบดมินตัน สนามฟุตซอล สนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล เป็นต้น

ผลการจัดการศึกษา

– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ประเภท เยาวชนอายุ 12 ปี ฟุตบอล มวก. นนทบุรีคัพ ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

– รับประทานโล่จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในการประเมินโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน ( Energy Mind Award 2014 ) เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2558

– รางวัลระดับ 2 ดาว ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 25,000 บาท จากการไฟฟ้านครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพและสิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) จากการประเมินโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน ( Energy Mind Award 2015 ) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559

– เกียรติบัตรรับรองการผ่านประเมินรอบที่ 2 “ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ” ปีการศึกษา 2558 – 2560 จากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558

– รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล 1,000 บาท จากการแข่งขันแอโรบิค ระดับปฐมวัย ถ้วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ณ  สนามกีฬากองทัพบก (ธูปเตมีย์) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558

– ชนะเลิศระดับภาคกลาง และเป็น 1 ใน 6 วงดนตรี ระดับประเทศ การประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษาในรายการ DeeDo High School Band สะใจวัยฝัน Season2 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

 

พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)

เมื่อวันที่  29  มีนาคม  2559 โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ได้ทำบันทึกข้อตกลง MOU : MEMORANDUM OF UNDERSTANDING กับเทศบาลเมืองบางบัวทอง เพื่อรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร

โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้วยการสร้างห้องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม บริเวณใต้อาคารเซนต์โยเซฟ ซึ่งภายในห้องประกอบด้วยฐานความรู้ 9 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานถอดรหัสยูนิต  2. ฐานบ้านพลังงาน
3. ฐานกิจกรรม 1A 3R  4. ฐานเครื่องกรองน้ำบำบัดน้ำเสีย  5. ฐานรู้จักเบอร์ 5 ต้องเลือกให้เป็น  6. ฐานถุงผ้าน่าใช้  7. ฐานการจัดการคัดแยกขยะ  8. ฐานการเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ  9. ฐานรักษ์น้ำ รักษ์โลก นอกจากนี้ยังสร้างแหล่งเรียนรู้สวนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งภายในสวนประกอบด้วย โรงเพาะเห็ด  แปลผัก การเลี้ยงเป็ด ไก่  บ่อปลาดุก  การเลี้ยงกบ  แปลงสาธิตการปลูกข้าว

       ผลการจัดการศึกษา

  • รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
    พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท จากการประกวดวงดนตรีสากลร่วมสมัยระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โครงการ “บทเพลงรักแห่งแผ่นดิน” ปีที่ 6 จัดโดย กองทัพบก ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ประจำปี 2559
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท ประเภทการประกวดเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้ โครงการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ประจำปี 2559 จากเทศบาลนครนนทบุรี
  • รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองแดง ระดับภาคกลาง การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบายทางคณิตศาสตร์ ม.4 – ม.6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559
  • รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง ลำดับที่ 7 ระดับภาคกลาง การประกวดวงดนตรีสตริง ม.4 – ม.6
    งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559
  • รางวัลโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก โครงการ “โรงเรียนต้นแบบนวัตกรรมสีเขียว” เงินรางวัล 20,000 บาท จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559
  • รางวัลชมเชย โครงการลดการใช้พลังงานด้วยการใช้นวัตกรรม 4R ภายใต้ “O-Z-O-N-E Concept”
    เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน “กีฬาฟุตซอลยุวชน อบจ. นนทบุรีคัพ” ประจำปี 2560 รุ่นอายุ
    ไม่เกิน 13 ปี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
  • รางวัลที่ 3 ระดับภาคกลาง ระดับประถมศึกษาตอนปลาย โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 35 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560
  • รางวัลชนะเลิศ ระดับจังหวัดนนทบุรี ระดับประถมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 35 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

 

พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017)

วันที่  28 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โรงเรียนลงนามความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านวิชาการแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาอีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิชาการ ด้านศักยภาพผู้เรียน และด้านการศึกษาต่อ ให้สอดคล้องและต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาสู่ระดับอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามศักยภาพของผู้เรียนตามแนวปฏิรูปการศึกษาอย่างยั่งยืน

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 โรงเรียนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “เรื่องการให้โควตานักเรียนเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา และอื่นๆ อาทิ การสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้และกิจกรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ (STEM) เป็นต้น

นอกจากนี้โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้  และสร้างบรรยากาศสถานศึกษาให้เหมาะสมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน (Learning Skill) รวมถึงการส่งเสริมทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อาทิ ห้อง E-Library เพ้นท์กำแพง ชีวิตสัตว์ใต้ทะเล การละเล่นไทย สัตว์ดึกดำบรรพ์ โลกของแมลง สุภาษิตคำพังเพย สุริยะจักรวาล และยังเป็นศูนย์การอบรมครูสะเต็มศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยระบบทางไกลผ่านสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์ สช 0057 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ด้านการปรับปรุงพัฒนา ในปีการศึกษา 2560 ได้เปลี่ยนโต๊ะเรียนและเก้าอี้ ระดับชั้น ป.4 , ป.5 , ม.1 , ม.2 เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเก่า 17 ตัว เปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ 55 เครื่อง ติดเครื่องโปรเจคเตอร์ทุกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ เปลี่ยนหลังคาอาคารเซนต์แมรี่ หลังคาระหว่างโรงอาหาร ทำหลังคาเชื่อมต่อทางเดินระหว่างโรงอาหารกับอาคารพระกุมารเยซู เพื่อจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ

 

ผลการจัดการศึกษา

  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาประทานโล่เกียรติคุณ แก่ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ แผนกปฐมวัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานมหกรรมดนตรีเมโลเดียนอนุบาลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครั้งที่ 9 โดยการจัดของสมาคมเมโลเดียน ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรมดุริยางค์ทหารบก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2560
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาประทาน
    โล่เกียรติคุณ แก่ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ จาก ในการประเมินโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน ( Energy Mind Award 2015 ) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวงดนตรีทางโทรทัศน์ชื่อรายการ “Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต” Season 3 จากมูลนิธิคาราบาว และบริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด
    ณ Workpoint Studio เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560
  • รางวัลระดับ 3 ดาว ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 40,000 บาท จากการไฟฟ้านครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพและสิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) จากการประเมินโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน ( Energy Mind Award 2016 ) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560
  • รางวัลชมเชย มหกรรมการแข่งขันกีฬาเด็กเล็กชิงชนะเลิศ   แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7    วันที่    26 – 27  สิงหาคม 2560      ที่เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • รางวัลชมเชย การแข่งขันกีฬานักเรียนชิงถ้วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ครั้งที่  46   วันที่ 14  มิถุนายน – 9 สิงหาคม 2560    ที่สนามกีฬากองทัพอากาศธูปะเตมีย์
  • รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับจังหวัด การแข่งขันตอบปัญหาศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ในกิจกรรมเยาวชนไทยรวมใจทำความดี จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับจังหวัด การแข่งขันตอบปัญหาศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ในกิจกรรมเยาวชนไทยรวมใจทำความดี จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560
  • รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภทประถมศึกษา ระดับจังหวัด การแข่งขันตอบปัญหาศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ในกิจกรรมเยาวชนไทยรวมใจทำความดี จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ    การประกวดเล่านิทานประกอบสื่อ  ระดับอนุบาล  2 -3     เนื่องในงานวันวิชาการ    วันที่  19   ธันวาคม  2560    ณ  โรงเรียนกสินธรเซนต์ปีเตอร์
  • รางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทองแดง โรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
    ขั้นพื้นฐาน (O-NET) เฉลี่ย 5 กลุ่มสาระ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ระดับประถมศึกษาปีที่ 6
    ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561
  • รางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษาตอนต้น(ป.3-ป.4) ประเภทคะแนนรวม ระดับจังหวัด โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 36 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
  • รางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย(ป.5-ป.6) ประเภทคะแนนรวม ระดับจังหวัด โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 36 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
  • รางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.1-ม.3) ประเภทคะแนนรวม ระดับภาคโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 36 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
  • รางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6) ประเภทคะแนนรวม ระดับจังหวัด โครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 36 จากชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์